Conjunction หรือคำสันธาน สามารถเรียกง่ายๆในภาษาไทยได้ว่า “คำเชื่อม” เหตุผลที่เราต้องเรียนคำสันธานหรือคำเชื่อมนั้นเพราะประโยคทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะต้องใช้คำเชื่อมเหล่านี้เป็นตัวเชื่อมประโยคหรือวลีให้มีความสอดคล้องกัน คำสันธานแบ่งออกดังนี้
Conjunction แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. Coordinate Conjunction คำสันธานเชื่อมข้อความเสมอกัน
2. Correlative Conjunction คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ
3. Subordinate Conjunction คำสันธานเชื่อมอนุประโยค
โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้คำเชื่อมโดยให้ทุกคนจำคำว่าFANBOYS ซึ่งเป็นตัวย่อของคำเชื่อมแต่ละคำไม่ว่าจะเป็นคำเชื่อมคล้อยตามคำเชื่อมขัดแย้ง คำเชื่อมให้เลือกและคำเชื่อมความให้เหตุผล FANBOYS
F – for แปลว่า เพราะ
A – and แปลว่า และ
N – neither แปลว่า ไม่ทั้งสองอย่าง
B – but แปลว่า แต่
O – or แปลว่า หรือ
Y – yet แปลว่า แต่
S – so แปลว่า ดังนั้น
วิธีการใช้คำสันธานแบบคล้อยตามกัน หรือเป็นการเชื่อมประโยคที่มีประโยคนึงเกิดขึ้นและมีอีกประโยคคล้อยตามมา
วิธีการใช้คำสันธานที่บอกถึงความขัดแย้ง
คำสันธานที่บอกให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ทั้งสองอย่าง
คำสันธานที่บอกเหตุและผลของประโยค
Correlative conjunction (คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ) ใช้เชื่อมประโยค Independent clause ที่มีความหมายสอดคล้องและเท่าเทียมกัน เช่น
She is not only beautiful but also smart. เธอไม่เพียงแต่สวยเท่านั้น แต่ยังเก่งอีกด้วย
You can either write or type your report. คุณสามารถเขียนไม่ก็พิมพ์รายงานของคุณก็ได้
Danny neither watches TV nor reads newspaper. แดนนี่ไม่ได้ดูทีวีและอ่านหนังสือพิมพ์
This bag is as expensive as a motorbike. กระเป๋าใบนี้ราคาแพงเท่ากันกับรถมอเตอร์ไซค์หนึ่งคัน
Both George and Gina liked singing. ทั้งจอร์จและจีน่าชอบการร้องเพลง
Subordinating conjunction (SC) คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคหลัก (Main Clause) กับประโยคย่อย (Subordinate Clause) ที่มีความสำคัญไม่เท่ากัน
ตัวอย่าง
While I was walking in the supermarket, I met my friend. ในขณะที่ฉันกำลังเดินอยู่ในซุปเปอร์มาร์ตเกต ฉันก็เจอเพื่อนของฉัน
กลุ่มคำบอกความยินยอม (Concession) โดยปกติจะพูดถึงความขัดแย้ง
Though the test was difficult, she got good scores. แม้ว่าข้อสอบจะยากแต่เธอก็ได้คะแนนดี
กลุ่มคำบอกเหตุผล (Reason)
ตัวอย่าง I love singing because it makes me happy. ฉันชอบการร้องพลงเพราะมันทำให้ฉันมีความสุข
กลุ่มคำที่บอกเงื่อนไข (Condition)
ตัวอย่าง
If you come here tomorrow, I will show you my new puppy. ถ้าคุณมาที่นี่พรุ่งนี้ ฉันจะให้คุณดูลูกสุนัขตัวใหม่ของฉัน
กลุ่มคำทั่ว ๆ ไป (Manner)
ตัวอย่าง
He taught me how to play the guitar. เขาสอนวิธีเล่นกีต้าร์ให้กับฉัน
He acts as though he were very handsome. เขาแสดงท่าทางราวกับว่าเขาหล่อมาก
**ข้อสังเกต** ไม่ใช้ he was แต่ใช้ he were เนื่องจากเป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน และสิ่งที่เป็นการคาดการณ์ ซึ่งจะใช้ past simple แม้ว่าประโยคหน้าจะเป็น present ก็ตาม
หากใครที่สนใจอ่านบทความเกี่ยวกับแกรมม่าภาษาอังกฤษหรือทริคการใช้ภาษาอังกฤษอื่นๆ สามารถติดตามได้ที่ Social Media (ดูด้านล่าง)